การขนย้ายสินค้าในท่าเรือ จัดเป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการบริหารจัดการ เนื่องจากแต่ละท่าจะ
แข่งขันกันเป็นนาทีในการยกสินค้าขึ้นและลง
ทั้งนี้ ในปัจจุบันระบบการจัดการท่าเรือ ที่เรียกว่า Port Automation จะท าหน้าที่ในการจัดการ
ท่าเรือ ในระบบที่ใช้ Computer และหุ่นยนต์ในการขนย้ายคอนเทนเนอร์หน้าท่า
การขนย้ายสินค้าในท่าเรือ มีกระบวนการดังต่อไปนี้
1.Stacking Lanes เป็นการจัดย้ายสินค้าไปวางเรียงกอง ซึ่งจะมีการวางเป็นชั้น ที่เรียกว่า Stack ซึ่ง
โดยปกติจะมีการวางเรียงคอนเทนเนอร์ไว้ 4-5 ชั้น โดยมีความกว้างของช่องทาง ที่เรียกว่า Gantry Crane
เป็นเครื่องมือในการขนย้าย ซึ่งปัจจุบันในหลายท่าได้น าระบบ Computer Right เข้ามาก าหนด Location ใน
การวางตู้ โดยมีหอ Control Room ใช้ในการควบคุมการท างาน
2.การเคลื่อนย้ายคอนเทนเนอร์ไปไว้หน้าท่า ซึ่งอาจจะใช้ตัว Gantry Crane หรืออาจอาศัยรถยกที่
เรียกว่า Top ท าหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย
3.การ Slot Stacking เป็นการยกตู้สินค้าที่วางอยู่บริเวณหน้าท่า Quay ขึ้นไปวางไว้บนเรือ โดยมี
Quay Crane คือ Crane ที่อยู่หน้าท่าท าหน้าที่ในการขนย้าย
ส าหรับ ประเทศไทยมีท่าเรือหลักที่ส าคัญ คือ ท่าเรือกรุงเทพฯ จะมีตู้เข้า-ออกประมาณเกือบ 1 ล้าน
ตู้ต่อปี และท่าเรือแหลมฉบัง จะมีตู้เข้าและออกประมาณ 2.9-3.0 ล้าน TEU
นอกจากนี้ยังมี ท่าเรือมาบตาพุด , ท่าเรือน้ าลึกสงขลา , ท่าเรือสตูล ซึ่งประเทศไทยเอง ก็คงจะต้อง
แข่งขันกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์หรือ ฮ่องกง ซึ่งจะมีตู้เข้า-ออก ปีละประมาณ 17.04 ล้าน TEU ชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
การขนส่งสินค้าด้วย Container Vessel นั้น สินค้าจะต้องบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ หากผู้ขายเป็นผู้
บรรจุ ก็จะเรียกว่า Term CY คือ Consignee Load and Count หากบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือ
หรือใน ICD (Inland Container Depot) ซึ่งตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ ก็จะเรียกลักษณะการขนส่ง
แบบนี้ว่า CFS (Container Freight Station)
โดยสินค้าที่จะเป็น Term CY ได้นั้น จะต้องเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้ที่เรียกว่า FCL (Full Container
Load) ส่วนใน Term CFS ก็สามารถเป็นได้ทั้งที่เป็น FCL และ การบรรจุแบบรวมตู้(Consolidated) คือ
สินค้าน้อยกว่า 1 ตู้ ซึ่งเรียกว่า LCL (Less Container Load)
ส าหรับ Containers ที่ใช้ในการบรรจุนี้ส่วนใหญ่ จะมีขนาดดังนี้
1.ขนาด 20 ฟุต เป็นตู้ที่มี Outside Dimension คือ ยาว 19.10 ฟุต และกว้าง 8.0 ฟุต สูง 8.6 ฟุต
โดยมีน้ าหนักบรรจุตู้ได้สูงสุดประมาณ 32-33.5 CUM (คิวบิกเมตร) และน้ าหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 21.7 ตัน
2.ตู้ขนาด 40 ฟุต จะมีความยาว 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต สูง 9.6 ฟุต (Hicute) โดยสามารถบรรจุสินค้าได้
76.40 – 76.88 CUM และบรรจุสินค้าน้ าหนักสูงสุดได้ 27.4 M/T ซึ่งจะเป็นน้ าหนักส าหรับสินค้าประเภท
Dry Cargoes
ส าหรับ การขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ได้รับการยอมรับว่า เป็นรูปแบบการขนส่ง
มาตรฐาน โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณถึง 95 % ของการขนส่งสินค้าทางทะเล
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ จะมีเพียงไม่มากราย เมื่อเทียบกับปริมาณของ
การขนส่ง โดยผู้ให้บริการสายการเดินเรือ ซึ่งเรียกว่า Carrier จะมีการรวมตัวกันเป็นชมรม (Conference) ซึ่ง
จะมีบทบาทต่อการก าหนดค่าขนส่งสินค้า และค่าบริการในอัตราที่บางครั้งมีลักษณะกึ่งผูกขาด
อนึ่ง ชมรมสายการเดินเรือที่ส าคัญของโลก อาจประกอบด้วย
1.Far Eastern Freight Conference (FEFC) จะเป็นบริการรับขนสินค้าจากเอเซียไปยุโรป โดยเน้น
ที่สินค้าที่ไปทางทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งจัดได้ว่า เป็นอาณาบริเวณซึ่งมีการขยายตัวประมาณ 24 % และ
สินค้าที่ไปทางรัสเซียด้านตะวันออก St.Petersburg
2.Asia / West Coast South America จะเป็นการเดินเรือในด้านตะวันตกของเอซีย จนไปถึงทวีป
อเมริกาใต้
3.Informal Rate Agreement (IRA) ชมรมนี้จะครอบคลุมธุรกิจจากเอเชียไกล ไปถึงเอเชียภาค
ตะวันออกกลาง ครอบคลุมไปถึงเกาหลี , จีน , ฮ่องกง , ใต้หวัน , เวียดนาม , ไทย , ฟิลิปปินส์ , มาเลเซีย ,
สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
4.Trans Pacific ครอบคลุมอาณาบริเวณริมมหาสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ ,อเมริกา
West Coast