กระทรวงคมนาคม แถลงผลงานรอบ 1 ปี เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริการด้านคมนาคม เชื่อมโยงเส้นทางสู่ทุก
ภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน มุ่งสู่การคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงผลดำเนินงาน “การขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมสู่การปฏิบัติ” ประจำปี 2563 ของกระทรวงคมนาคม โดยมี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดคมนาคม เข้าร่วม
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริการด้านคมนาคม เชื่อมโยงเส้นทางสู่ทุกภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยมี 8 นโยบายสำคัญ จำนวน 21 เรื่อง ดังนี้
นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วน 4 เรื่อง
- เร่งรัดแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างล่าช้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น โครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2
- แก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่เกิดจากรถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะ เรือโดยสาร พร้อมตรวจสอบสภาพและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- ปรับเวลาเดินรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป เข้าเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเวลาหลัง 24.00 น. ถึง 04.00 น. เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการจราจรและการใช้รถใช้ถนนของประชาชนในปัจจุบัน
- กำหนดอัตราความเร็วรถบนถนน 4 ช่องทางจราจรขึ้นไปให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน
120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อระบายการจราจรให้คล่องตัวยิ่งขึ้น
นโยบายที่ 2 การสร้างทางเลือกใหม่ 2 เรื่อง
- ศึกษารูปแบบ เงื่อนไขการอนุญาตบริการรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน TAXI เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้ประชาชน
- ศึกษาและกำหนดแนวทาง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ (TAXI) เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม และยืดอายุการใช้งานของรถแท็กซี่จาก 9 ปี เป็น 12 ปี
นโยบายที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 2 เรื่อง
- ศึกษา และจัดทำแผนการใช้บัตรโดยสารเชื่อมโยงรถไฟฟ้าทุกระบบด้วยตั๋วร่วม ให้สามารถ
ใช้ร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม - ศึกษา และจัดทำแผนแก้ปัญหาด่านเก็บค่าผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น ด้วยเทคโนโลยี
M-Flow เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง
นโยบายที่ 4 การลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน 3 เรื่อง - พัฒนาการบริการรถโดยสารประจำทาง ขสมก. และรถร่วมเป็นรถปรับอากาศ และจัดเก็บค่าโดยสารเป็นระบบ E-Ticket พร้อมเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ในอนาคต
- ศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ทั้งรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
- ศึกษาแนวทางการปรับลดค่าผ่านทางพิเศษทุกประเภท ทั้งทางพิเศษ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และโทลล์เวย์ ด้วยการจำหน่ายคูปองค่าผ่านทางถูกกว่าราคาเต็ม 5 – 10 บาท โดยไม่มีผลกระทบต่อสัญญากับเอกชน
นโยบายที่ 5 การพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางราง 3 เรื่อง
- พัฒนารถไฟทางคู่ เพิ่มสัดส่วนการขนส่งด้วยระบบรางเป็น 30% ภายในเวลา 3 ปี เพื่อให้เป็นระบบโลจิสติกส์หลักในการขนส่งสินค้า
- สนับสนุนภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการเดินรถ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และลดภาระขององค์กร
- ศึกษา วิจัย และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากรางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้สามารถ
ใช้ประโยชน์สูงสุด ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ