ซึ่งเป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม โดยการขนส่งทางน้ำ เริ่มจากการใช้ท่อนไม้ลอยน้ำเป็นตัว
พยุง ต่อมานำท่อนไม้มาผูกเป็นแพลอยน้ำ ปัจจุบันใช้เรือที่มีเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน จนถึงใช้พลังงานนิวเคลียร์ จาก
การที่คนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับน้ำ ก่อให้เกิดพิธีกรรมหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น การลอยกระทง กระทำขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณน้ำ ประเพณีการแข่งเรือ เป็นต้น
การขนส่งทางน้ำ ถือได้ว่าเป็นการขนส่งที่สะดวกที่สุดในอดีต ทั้งนี้เนื่องจากการเดินทางทางบกค่อนข้างลำบาก เพราะต้องเดิน
ไปตามป่า เขา เส้นทางลาดชัน การเดินทางทางน้ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ก็เดินทางทางน้ำ ดังข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้ เช่น การเสด็จจากเมืองละโว้ไปยังเมืองลำพูนของพระนางจามเทวี
เมื่อกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง กรุงศรีอยุธยาเข้ามามีบทบาทในการเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง การค้าขาย ประกอบ
กับตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการเดินทางทางน้ำ คือ สามารถเดินทางไปยังส่วนภูมิภาคตามลำน้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน และสามารถเดินทางออกทะเลได้ง่าย ส่งผลทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในยุคนั้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช ที่การค้าทางเรือเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เช่น สเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศส เข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับ ซึ่งการค้าขายกับต่างชาติจะอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าประสาททอง
เป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง นอกจากผูกขาดซื้อขายสินค้าแล้ว พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก ซึ่งในขณะนั้นเรียกหน่วยงานนี้ว่า “เจ้าท่า”
คำว่า “เจ้าท่า” มีมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชกาลพระองค์ การค้าขายทางเรือกับต่างชาติปรากฏว่า รุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในยุคนั้น คำว่า “เจ้าท่า” สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเรียกว่าเจ้าท่าว่า “Shah Bardar